แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 7.3.1 การสร้างเม็ดเลือดแดง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 7.3.1 การสร้างเม็ดเลือดแดง แสดงบทความทั้งหมด

21/3/55

การสร้างเม็ดเลือดแดง

loading...
การสร้างเม็ดเลือดแดง (Formation of red blood cell) การสร้างเม็ดเลือดแดงของทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นที่ไขกระดูกแดง (Red bone marrow) ของกระดูกต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งภายในไขกระดูกแดงนี้จะมีเนื้อเยื่อที่สร้างเม็ดเลือด คือ Hematopoietic tissue โดยที่เม็ดเลือดทุกชนิดจะเติบโตมาจากเซลล์ต้นกำเนิดดั้งเดิมร่วมกันที่เรียกว่า Hemocytoblast ซึ่งเซลล์นี้จะเจริญเติบโตเป็นขั้นตอนตามระยะต่าง ๆ ดังนี้ คือ Hemocytoblast --> Erythroblast --> Normoblast --> Reticulocyte จนถึงขั้นสุดท้ายจะเป็นเม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่ คือ Erythrocyte ซึ่งจะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดที่ไหลเวียนเพื่อทำหน้าที่ในชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะแตกสลายไป
อายุของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ยประมาณ 120 วัน เมื่อเม็ดเลือดแดงแก่เต็มที่ ผนังจะเปราะจึงทำให้มีการแตกทำลายได้ เมื่อแตกออกฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่อยู่ภายในจะสลายตัวและถูกจำกัดออกจากกระแสเลือดโดย Reticuloendothelial cell ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายตามเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม และไขกระดูก โดยวิธี Phagocytosis ส่วนเหล็กซึ่งถูกปล่อยออกมาจากฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกร่างกายจะสงวนไว้เพื่อสร้าง Hemoglobin ใหม่ต่อไป เม็ดเลือดแดงมีการแตกทำลาย และมีการสร้างทดแทนขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้จำนวนเม็ดเลือดแดงคงที่เสมอ จากการศึกษาพบว่าอัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนแปลงได้คือ ถ้าปริมาณ ของ Oxygen ที่ส่งไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ลดน้อยลงกว่าปกติ อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) และหลอดเลือดอุดตัน หรือขณะอยู่ที่สูง ๆ ซึ่งความดัน Oxygen ในบรรยากาศจะลดน้อยลง เป็นต้น การเร่งหรือกระตุ้นให้ไขกระดูก (Bone marrow) สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเป็นผลกระตุ้นของสารชนิดหนึ่งคือ Erythropoietin ซึ่งเป็นสารจำพวก ไกลโคโปรทีน (glycoprotein) สารนี้ถูกขับออกมาโดยไต เมื่อการขนส่ง Oxygen ไปสู่เนื้อเยื่อน้อยลงไปกว่าความต้องการ Oxygen ของเนื้อเยื่อ

รายการบล็อกของฉัน