แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 4.2 ระบบแจกจ่าย (Distributing System) แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 4.2 ระบบแจกจ่าย (Distributing System) แสดงบทความทั้งหมด

20/3/55

ระบบแจกจ่าย (Distributing System)

loading...
ระบบแจกจ่าย (Distributing System)ในระบบแจกจ่ายนี้ประกอบไปด้วยหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากเวนตริเคิลทั้งสองของหัวใจเรียกรวมว่า ระบบหลอดเลือดแดง (arterial system) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อกลวงแตกย่อยออกเป็นสาขา (branching) ในส่วนของระบบไหลเวียนส่วนกาย (systemic circulation) จะประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่สุดคือเอออร์ตา (aorta) และหลอดเลือดแดงสาขาของเอออร์ตา ซึ่งยาวมีผนังค่อนข้างหนาและยังเป็นท่อกลวงที่มีความดันสูง ทำหน้าที่ในการส่งต่อเลือด ไปยังหลอดเลือดแดงขนาดที่เล็กลง (arteries) และหลอดเลือดแดงรอง (arterioles) ทั่วร่างกาย ในขณะเดียวกันความดันภายในหลอดเลือดวัดได้ในส่วนของเอออร์ตาส่วนต้นที่อยู่ใกล้เวนตริเคิล จาก 120 mmHg ในขณะซิสโตลี และ 80mHgในขณะไดแอสโตลี ค่อยๆลดลงมาสู่ความดันเฉลี่ยที่ 25 mmHg เมื่อวัดในส่วนของหลอดเลือดฝอยด้านใกล้กับหลอดเลือดแดงรอง (arteriolar end of capillaries) ส่วนความดันในหลอดเลือดแดงพูลโมนาลีย์ (pulmonary artery pressure) ที่นำเลือดจากเวนตริเคิลขวาเข้าสู่ปอด มีค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 25/10 mmHg (ค่าแรก = 25 เป็นค่าความดันซิสโตลิก ค่าที่สอง = 10 เป็นค่าไดแอสโตลิก) ก็มีค่าค่อยๆ ลดลงจนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10 mmHg บริเวณปากทางสู่หลอดเลือดฝอยของปอด (lung capillaries) นอกเหนือจากการแจกจ่ายเลือดแล้วระบบหลอดเลือดแดงยังมีหน้าที่อีกสองอย่างที่สำคัญได้แก่ หน้าที่ในการเก็บรักษาความดัน (pressure storing) และหน้าที่ในการสร้างความต้านทาน (resistance producing) โดยหลอดเลือดแดงส่วนปลาย

รายการบล็อกของฉัน