20/3/55

ระบบสูบฉีด (Pump)

loading...
          


 ภาพลิ้นหัวใจ (จาก Cohen BJ, Wood DL, 2000 อ้างใน อรอนงค์ กุละพัฒน์) 


อ้างอิง
1. http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4607/lesson/page_f.html
           ระบบสูบฉีด (Pump)หัวใจทำงานในการขับดันเลือดออกไปสู่ร่างกายทั้งส่วน systemic และส่วน pulmonary โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของทั้งสี่ห้องหัวใจที่เรียกว่า เอเทรีย หรือห้องบนขวา-ซ้าย (right and left atria) และเวนตริเคิลหรือ ห้องล่างขวา-ซ้าย (right and left ventricles) เอเทรียนั้น โดยแท้จริงแล้วมีความสำคัญเป็นแต่เพียงผู้ช่วยให้เลือดไหลไปสู่เวนตริเคิลเพื่อให้มีปริมาตรเลือดเหมาะสมที่จะส่งออกไปยังปอดผ่านทาง pulmonary arteries โดยการทำงานของเวนตริเคิลขวา และไปยังหลอดเลือดแดงส่วนกาย (systemic arteries) ผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ aortaโดยการทำงานของเวนตริเคิลซ้าย ดังนั้นส่วนที่เป็นปั๊มหลักในการส่งเลือดก็คือ เวนตริเคิล นั่นเอง การที่เวนตริเคิลสามารถทำหน้าที่ในการปั๊มเลือดไปสู่จุดหมายได้ดีก็ด้วยการมีสิ้น (valves) เปิดปิดทั้งด้านที่เป็นทางที่เลือดเข้าสู่และด้านที่เป็นทางออกจาก       เวนตริเคิล ลิ้นเหล่านี้ทำหน้าที่สลับกันคือลิ้นหนึ่งจะปิด ในขณะที่อีกลิ้นหนึ่งจะเปิดเพื่อให้เลือดไหลไปทางเดียวไม่ย้อนทางกลับสู่เอเทรียในขณะที่เวนตริเคิลบีบตัวหรือสู่เวนตริเคิลภายหลังจากการบีบตัว
ในขณะที่มีการบีบตัวของเวนตริเคิลที่เรียกว่าซิสโตลี (systole) ความดันที่เกิดขึ้นภายในเวนตริเคิล เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเวนตริเคิลจะคลายตัวทำให้ความดันภายในช่องเวนตริเคิล มีค่าลดลงอย่างรวดเร็วเข้าใกล้ค่าศูนย์ตามมาด้วยช่วงที่เลือดไหลจากเอเทรียมเข้าสู่เวนตริเคิลเรียกว่า (ventricular filling phase)หรือที่เรียกไดแอสโตลี (diastole) ทั้งในเวนตริเคิลและหลอดเลือดแดงใหญ่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของความดันอย่างชัดเจน คือมีการเพิ่มความดันขึ้นถึงระดับที่สูงมากในขณะมีการบีบตัวของเวนตริเคิลสลับกับช่วงที่ความดันลดลงสู่ระดับต่ำกว่า ในขณะที่มีการคลายตัวของ เวนตริเคิล ในทางคลินิกจะเรียกความดันในเวนตริเคิลและหลอดเลือดแดงใหญ่ในขณะซิสโตลีว่าเป็นความดันซิสโตลิก (systolic blood pressure) ซึ่งเป็นความดันสูงสุด สามารถวัดได้ในขณะมีการบีบตัวของเวนตริเคิล และความดันไดแอสโตลิก (diasolic blood pressure) ซึ่งเป็นความดันต่ำสุด วัดได้ในขณะเวนตริเคิลคลายตัว โดยความดันทั้งสองค่านี้ให้มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอท (mmHg) โดยสังเขปคือเป็นความดันที่สามารถทำให้ปรอทที่บรรจุอยู่ในท่อตั้งตรงถูกดันขึ้นไปโดยวัดเป็นความสูงของสารปรอทที่อยู่ในท่อนั้น ดังนั้นเวนตริเคิลซ้ายซึ่งจัดว่า เป็นปั๊มความดันสูง (high pressure pump) จะมีค่าความดันโดยเท่ากับ 120 ม.ม.ปรอท ในขณะที่เวนตริเคิลขวา ซึ่งจัดว่าเป็นปั๊มความดันต่ำ (low pressure pump) จะมีค่าความดันเท่ากับ 25 ม.ม.ปรอท โดยปกติแล้วเวนตริเคิลทั้งสองจะทำงานเกือบจะพร้อมกันทั้งเฟส (phase) และจังหวะ (rhythm) จากการที่มีการหดบีบตัวพร้อมๆ กันของกล้ามเนื้อหัวใจทั้งสองเวนตริเคิล นอกจากนี้ความดันในเวนตริเคิลยังมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมวลกล้ามเนื้อเป็นปัจจัยสำคัญบ่งถึงความดันภายในที่เกิดขึ้นภายในอวัยวะมีช่องกลวง กล่าวคือ กล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลซ้ายที่ต้องเผชิญกับความดันที่สูงอยู่ตลอดมักจะมีความหนากว่าเวนตริเคิลขวา โดยกล้ามเนื้อหัวใจที่ผนังเวนตริเคิลซ้ายหนาประมาณ 8-10 มม. และสำหรับเวนตริเคิลขวาจะมีความหนาประมาณ 2-3 มม. ทำให้เมื่อวัดอัตราส่วน (ratio) ของความดันสูงสุดภายในของเวนตริเคิลทั้งสองแล้วพบว่ามีค่าใกล้เคียงกับอัตราส่วนของความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจทั้งสองเวนตริเคิล

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน