loading...
การควบคุมการทำงานของหัวใจ หัวใจจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system)จากบริเวณ ก้านสมอง (Brainstem) ด้วยเส้นประสาทจากสมอง 2 ชนิดคือเส้นประสาทซิมพาเธติค (Sympathetic nerve fibers) และเส้นประสาทเวกัส(vagal motor nerve fibers) ซึ่งจะส่งสัญญาณประสาทมาที่ SA node
โดยที่เส้นประสาทซิมพาเธติคจะทำให้ SA node ทำงานเร็วขึ้นทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ขณะที่เส้น ประสาทเวกัส จะทำให้ SA node ทำงานช้าลงทำให้หัวใจทำงานช้าลง
นอกจากนี้แล้วส่วนของหัวใจและหลอดเลือดจะประกอบด้วยตัวรับสัญญาณประสาทที่เราเรียกว่า receptors ซึ่งจะถูกควบคุมทั้ง จากระบบประสาทซิมพาเธติคและระบบประสาทพาราซิมพาเธติค อันจะมีผล ต่อความเร็วและความแรงในการบีบตัวของหัวใจการหดและขยายตัวของหลอดเลือด
ระบบประสาทที่มาเลี้ยงหัวใจ (Nerve supply) หัวใจ มีเส้นประสาทมาเลี้ยง พวกหนึ่งเป็น Nerve สำหรับรับความรู้สึก (Impulse) เกี่ยวกับความเจ็บปวดจากหัวใจ เมื่อเวลาขาดออกซิเจน ส่วนพวก Fibers มาจาก Parasympathetic ในระบบ Autonomic nervous system คือจาก Vagus nerve ควบคุมให้การเต้นของหัวใจช้าและเบาลง อีกพวกหนึ่งจาก Sympathetic nerve จะทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น
การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
1. Autonomic nervous system
- Sympathetic กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) และเพิ่มการบีบตัว
- Parasympathetic ลดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate)
2. Hormone
- Epineprin, Norepinephrin และ Thyroid Hormone จะทำให้การทำงานหัวใจจะมากขึ้น 3. ไอออนในเลือด
3.1 โปแตสเซี่ยมไอออน (K+)
- Hyperkalemia จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้และเกิดภาวะ Diastolic Stanstill
- Hypokalemia จะทำให้ความไวต่อการกระตุ้นของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จนอาจถึงไม่มีการกระตุ้นเลย หัวใจจึงทำงานได้น้อยลง
3.2 แคลเซี่ยมไออน(Ca++) มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ถ้ามีน้อยทำให้หยุดในท่า Diastolic Stanstill
- ถ้ามากจะทำให้หยุดในที่ Systolic Stanstill
3.3 โซเดียมไอออน (Na+)
- ถ้าน้อยกล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวไม่ได้
4. อุณหภูมิ
- fever ภาวะไข้ จะทำให้อัตราการการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
- Hypothermia ภาวะอุณภูมิร่างกายต่ำ จะทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง
5. อารมณ์
- อารมณ์ตื่นเต้น ตกใจ กลัว จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) เร็วขึ้น
- กลัวสุดขีด เศร้า จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ลดลง
จากภาพ แสดงการควบคุมการทำงานของหัวใจโดยระบบประสาทอัติโนมัติ โดยระบบ Sympathetic จะได้รับจากเส้นประสาทไขสันหลังระดับอกโดยส่งผ่าน Sympathetic ganglion ที่ไขสันหลังระดับบอกมาที่หัวใจ ส่วนระบบ Parasympathetic จะมาจากศูนย์ควบคุมการทำงานของหัวใจที่ Medulla oblongata โดยการผ่านมากับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 : Vagus nerve
อ้างอิง
1. http://www.thaiheartclinic.com/data2.asp#fn01
2. http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/cardio-vascular/page/index-circular.html
- Sympathetic กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) และเพิ่มการบีบตัว
- Parasympathetic ลดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate)
2. Hormone
- Epineprin, Norepinephrin และ Thyroid Hormone จะทำให้การทำงานหัวใจจะมากขึ้น 3. ไอออนในเลือด
3.1 โปแตสเซี่ยมไอออน (K+)
- Hyperkalemia จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้และเกิดภาวะ Diastolic Stanstill
- Hypokalemia จะทำให้ความไวต่อการกระตุ้นของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จนอาจถึงไม่มีการกระตุ้นเลย หัวใจจึงทำงานได้น้อยลง
3.2 แคลเซี่ยมไออน(Ca++) มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ถ้ามีน้อยทำให้หยุดในท่า Diastolic Stanstill
- ถ้ามากจะทำให้หยุดในที่ Systolic Stanstill
3.3 โซเดียมไอออน (Na+)
- ถ้าน้อยกล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวไม่ได้
4. อุณหภูมิ
- fever ภาวะไข้ จะทำให้อัตราการการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
- Hypothermia ภาวะอุณภูมิร่างกายต่ำ จะทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง
5. อารมณ์
- อารมณ์ตื่นเต้น ตกใจ กลัว จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) เร็วขึ้น
- กลัวสุดขีด เศร้า จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ลดลง
จากภาพ แสดงการควบคุมการทำงานของหัวใจโดยระบบประสาทอัติโนมัติ โดยระบบ Sympathetic จะได้รับจากเส้นประสาทไขสันหลังระดับอกโดยส่งผ่าน Sympathetic ganglion ที่ไขสันหลังระดับบอกมาที่หัวใจ ส่วนระบบ Parasympathetic จะมาจากศูนย์ควบคุมการทำงานของหัวใจที่ Medulla oblongata โดยการผ่านมากับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 : Vagus nerve
อ้างอิง
1. http://www.thaiheartclinic.com/data2.asp#fn01
2. http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/cardio-vascular/page/index-circular.html
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น