20/3/55

วงจรการทำงานของหัวใจ (Cardiac circle)

loading...
วงจรการทำงานของหัวใจ (Cardiac circle) หมายถึง การบีบตัวของหัวใจ ซึ่งประกอบด้วยการบีบตัว (Systole) และการพัก (Diastole) ของหัวใจห้องบน และหัวใจห้องล่าง เมื่อหัวใจห้องบนบีบตัวแล้วพัก หัวใจห้องล่างจะบีบตัวและพักต่อเนื่องกัน ทำให้มีการเคลื่อนไหวของหัวใจอยู่ตลอดเวลา

ในขณะที่หัวใจห้องบนบีบตัว เลือดจะไหลผ่านจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่างซึ่งอยู่ในระยะพักตัวรับเลือด โดยผ่านลิ้นที่กั้นระหว่างห้องหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง (Atrio-ventricular valve) และในขณะเดียวกันลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างกับหลอดเลือด (Pulmonary และ Aortic semilunar valve) จะปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลออกจากหัวใจห้องล่าง ต่อมาหัวใจห้องบนจะเข้าสู่ระยะพัก เลือดจากร่างกาย และเลือดจากปอด จะผ่านเข้าห้องหัวใจบนทั้งสองข้างและลิ้น Atrio-ventricular valve จะปิดป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงสู่หัวใจห้องล่าง ขณะเดียวกันหัวใจห้องล่างทั้งสองข้างจะบีบตัวและส่งเลือดผ่านลิ้น Pulmonary และ Aortic semilunar valve เข้าสู่หลอดเลือดที่ไปปอด และหลอดเลือด Aorta ที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป

จังหวะการบีบตัว เราเรียกว่า systole (อ่านว่า ซิส-โต-ลี) จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดและลิ้นหัวใจไมตรัลปิดและหัวใจห้องล่างขวา-ซ้ายบีบตัวเพื่อนำเลือดผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคซึ่งเปิดออกไปสู่ เส้นเลือดแดงพัลโมนารี่และเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ตามลำดับ
 
จังหวะการคลายตัว เราเรียกว่า diastole (อ่านว่า ได-แอส-โต-ลี)  จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคปิด ส่วนลิ้นหัวใจไตรคัสปิด และ ลิ้นหัวใจไมตรัลจะเปิดออกทำให้เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนไหลลงสู่หัวใจห้องล่างซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับ ที่หัวใจห้องล่าง ทั้งขวาและซ้ายคลายตัวเพื่อรับเลือดนั่นเอง   ในช่วงจังหวะปลายของระยะนี้หัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายจะ บีบเค้น เอาเลือดส่วนที่เหลือให้ ออกจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง

จากนั้นจะเริ่มเข้ารอบใหม่ของการเต้นของหัวใจคือ systole   คือลิ้นหัวใจไตรคัสปิด และลิ้นหัวใจไมตรัลจะปิดอีกครั้งเพื่อเตรียมให้หัวใจห้องล่างบีบเลือดส่งออกไป  โดยหัวใจห้องล่างขวาบีบ เลือดไปที่เส้นเลือดแดงพัลโมนารี่(ซึ่งที่จริงแล้วมีแต่เลือดดำ)เพื่อไปฟอกเลือดที่ปอดและหัวใจห้องล่างซ้าย บีบเลือดไปที่เส้นเลือด แดงเอออร์ตาเพื่อนำเลือดแดงไปเลึ้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย
หัวใจเต้น 1 ครั้งจะประกอบด้วยการบีบตัวและการคลายตัวของหัวใจทั้งบนและล่าง ซึ่งโดยปกติเราจะแบ่งจังหวะการเต้นของ หัวใจเป็น 2 จังหวะโดยยึดตามหัวใจห้องล่างเป็นหลัก คือ
ภาพจาก Frederich H. Martini. Edwin F. Bartholomew. Essentials of anatomy and physiology. U.S.A., Prentice-Hall , Inc. 1997.อ้างใน อภิชาติ สินธุบัว, 2006

 จากภาพ แสดงวงจรการไหลเวียนของเลือดที่ออกจากหัวใจซีกซ้ายไปตามหลอดเลือด Aorta เพื่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั้งที่อยู่ต่ำกว่าและสูงกว่าระดับของหัวใจ และเมื่อเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในอวัยวะต่างๆ แล้วจะพาเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์กลับสู่หัวไจซีกขวา และหัวใจห้องล่างขวาจะสูบฉีดเลือดไปที่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนที่ถุงลมปอด เลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดจะไหลกลับสู่หัวใจซีกซ้ายและส่งไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเป็นวงจรอย่างนี้เรื่อยไป

อ้างอิง
1. อภิชาติ สินธุบัว. 2006. http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/cardio-vascular/page/index-circular.html
2. การทำงานของหัวใจ http://www.thaiheartclinic.com/data2.asp

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน