loading...
Cardiac conduction system
1 Sinoatrial (SA) หรือ Sinus node เป็น primary pacemaker ของหัวใจ จึงเป็นตัวกำหนดอัตราการเต้นของหัวใจในสภาวะปกติ โดยปกติ SA node จะมีอัตราการปล่อยสัญญาณไฟฟ้าประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ซึ่งอัตราความถี่จะเปลี่ยนแปลงได้โดยปัจจัยภายนอก เช่น ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system: sympatheticand parasympathetic), สารจำพวกฮอร์โมน เช่น catecholamines และ ระดับความเข้มข้นของอิเล็กโตรไลท์ภายในกระแสเลือด เป็นต้น
2 Atrium สัญญาณไฟฟ้าจาก SA node ผ่านมายัง atrium ซ้ายและขวาอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิด depolarizationของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของ atrium ตามมาด้วยการบีบตัวของหัวใจห้องบน (atrial contraction) โดยปกติประมาณ20-30 % ของ venous return ใน ventricle เกิดจากการบีบตัวของ atrium นี้ ซึ่งมักถูกกล่าวถึงว่าเป็น ‘atrial kick’
3 Atrioventricular node (AV node) สัญญาณไฟฟ้าผ่านจาก atrium มายัง AV node ซึ่งอยู่บริเวณส่วนล่างของ atrium ข้างขวา การผ่านของสัญญาณไฟฟ้าใน AV node จะช้าลงประมาณ 0.04 วินาที ซึ่งมีผลดีคือ ทำให้หัวใจห้องล่างไม่บีบตัวเร็วเกินไปนัก โดยได้รับเลือดจากหัวใจห้องบนอย่างสมบูรณ์ก่อนจะบีบตัวAV node เองนั้นไม่มี pacemaker cells แต่เนื้อเยื่อรอบ AV node เรียกว่า AV junctional tissue มีpacemaker cells ซึ่งสามารถก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าได้ด้วยตัวมันเองที่อัตราความถี่ 40-60 ครั้งต่อนาที ในภาวะปกติ เนื่องจาก SA node ก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าด้วยอัตราความถี่สูงกว่า, AV junctional pacemaker cell จึงรับสัญญาณไฟฟ้าที่มาจาก SA node โดยไม่ก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมาเอง แต่หากมีความผิดปกติขึ้นที่ SA node ทำให้สัญญาณจาก SA node ไม่ผ่านมายัง AV junction, เซลล์ที่บริเวณ AV junction ก็จะทำหน้าที่เป็น pacemaker ส่งสัญญาณไฟฟ้าออกไป เป็น ectopic escape impulse (ectopic ใช้บ่งบอกว่า impulse ไม่ได้กำเนิดจาก SA node ส่วนescape ระบุว่าไม่ใช่ SA node ที่เป็นตัวนำในการปล่อยสัญญาณไฟฟ้า) อัตราเร็วในการนำไฟฟ้าของ AV node อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับ SA node คือ parasympathetic activation ทำให้ความเร็วในการนำสัญญาณไฟฟ้าของ AV node ลดลง ในทางตรงข้าม sympathetic activation ทำให้ความเร็วในการนำสัญญาณไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
4 His-Purkinje System จาก AV node สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งผ่ามายังหัวใจห้องล่างโดยผ่าน His bundleและแยกออกเป็น left และ right bundle branch ซึ่งแตกแยกออกเป็นแขนงย่อยๆ อีกจนถึง Purkinje fiber ซึ่งเป็นตัวนำสัญญาณไฟฟ้าไปสิ้นสุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง Purkinje fibers มีสมบัติเป็น pacemaker cell โดยก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าที่อัตราความถี่ 20-40 ครั้งต่อนาที ในสภาวะปกติ Purkinje fibers จะไม่ก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมาเองเนื่องจากรับสัญญาณไฟฟ้ามาจาก SA node และ AV node
5 Ventricle เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง depolarize และ บีบตัวอย่างพร้อมเพียงเมื่อถูกกระตุ้นโดยสัญญาณไฟฟ้าจาก His-Purkinje system
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น