loading...
ศักย์ไฟฟ้าที่ผนังเซลล์เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้น (membrane action potential) เซลล์ของหัวใจมีคุณสมบัติในการตอบสนองหรือถูกกระตุ้นได้ (excitability) จากสิ่งเร้าที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า(electrical impulse) เมื่อถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ผนังเซลล์ เป็นผลให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนผ่านเข้าและออกเซลล์แตกต่างไปจากขณะที่เซลล์พัก. การเคลื่อนที่ของไอออนนี้ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของศักย์ไฟฟ้าที่ผนังเซลล์ เป็นช่วงๆ ตามการเคลื่อนที่ของไอออนชนิดต่างๆ ในแต่ละช่วง สามารถแบ่งเซลล์หัวใจตามลักษณะในการตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าเป็น 2 ชนิด คือ fast-response และ slow-response A. Fast-response cell ได้แก่เซลล์ที่ทำหน้าที่โดยทั่วไปของหัวใจ(นำกระแสไฟฟ้า หรือหดตัวเพื่อกำเนิดแรงในการบีบตัวของหัวใจ) เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของ atrium, ventricle, เซลล์ส่วนใหญ่ของ AV node, His bundle และPurkinje fibers มีลักษณะของศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์ถูกกระตุ้น
แบ่งเป็น 5 ช่วงด้วยกัน คือ
Phase 0
Phase 1
Phase 2
Phase 3
Phase 4
B. Slow-response cells ในสภาวะปกติจะมีเพียงแต่ SA node และ AV node
เท่านั้นที่มีคุณสมบัติ แบบ slow-response cells มีลักษณะของศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ
Phase 0
Phase 3
Phase 4
C. Pacemaker cell คือ cells ที่มีคุณสมบัติในการก่อให้เกิด depolarization
ของตัวมันเองโดยไม่จำเป็นต้องถูกกระตุ้นจากเซลล์ข้างเคียง โดยปกติ pacemaker cell เป็น slow-response cells ที่มี resting membrane potential(phase 4) ไม่คงที่ โดยศักย์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึง threshold ของการเกิด action potential เซลล์ก็จะเกิด depolarization ขึ้น ดังนั้น pacemaker cell จึงมีความสามารถในการกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าโดยตัวมันเอง เรียกคุณสมบัตินี้ว่า automaticity ในสภาวะปกติ เซลล์ที่มีคุณสมบัติเป็น pacemaker cell ได้แก่ เซลล์ของ SA node เซลล์ของ AV node และเซลล์ของ Purkinje fibers แต่ในบางสภาวะ เช่น ภาวะที่ขาดออกซิเจน (hypoxia) เซลล์ซึ่งโดยปกติมีการตอบสนองแบบ fast-response cell อาจเปลี่ยนสภาพเป็น slow-response cell ที่สามารถก่อให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมาโดยตัวของมันเองได้ ซึ่งถือเป็น abnormal automaticity
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น