20/3/55

คุณสมบัติทางไฟฟ้าและการเต้นของหัวใจ

loading...
คุณสมบัติทางไฟฟ้าและการเต้นของหัวใจ  

หัวใจทำหน้าที่สำคัญในการสูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายโดยการบีบตัวและคลายตัวอย่างเป็นจังหวะด้วยอัตราเร็วที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายในขณะหนึ่งๆ หน้าที่นี้จะสำเร็จได้ หัวใจต้องอาศัยคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่สำคัญของเซลล์หัวใจ (electrical properties of cardiac cells อ่านว่า อิ-เล็ก-ถริก-ค่อล  พร็อพ-เพอ-ตี้  ออฟ  คา-ดิ-แอ็ก  เซล) ในการให้กำเนิดสัญญาณไฟฟ้า (electrical impulse formation อ่านว่า อิ-เล็ก-ถริก-ค่อล  อิม-พั้ล  ฟอ-เม-ชั่น) การส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้า (electrical impulse conduction หรือ transmission อ่านว่า อิ-เล็ก-ถริก-ค่อล  อิม-พั้ล คอน-ดั๊ก-ชั่น  หรือ  ทราน-มิด-ชั่น) และ การตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโดยการหดตัวพร้อมๆ กันหัวใจจะมีส่วนที่เป็นฉนวนไฟฟ้ากั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเราเรียกว่า annulus fibrosus (อ่านว่า  แอน-นู-ลัส ไฟ-โบร-สิส) แต่หัวใจมีระบบการนำสัญญาณไฟฟ้าเฉพาะที่เราเรียกว่า cardiac conduction system(อ่านว่า คา-ดิ-แอ็ก  คอน-ดั๊ก-ชั่น  ซิส-เต็ม) ซึ่งจะทำหน้าที่นำสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนลงสู่ห้องล่าง
เมื่อสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจจะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจและตามด้วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าผ่านไป
หัวใจจึงมีการบีบตัวจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่างแล้วตามด้วยการบีบตัวของหัวใจห้องล่างส่งเลือดต่อไปให้เส้นเลือดแดง พัลโมนารี่และ เส้นเลือดแดงเอออร์ตาและด้วยระยะเวลาการบีบตัวที่พอเหมาะ ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างจะทำให้เลือดไหลจาก หัวใจห้องบนลงสู่ห้องล่างได้อย่างเต็มที่
จุดเริ่มของการ นำไฟฟ้าในหัวใจเริ่มที่หัวใจห้องบนขวาในบริเวณที่เราเรียกว่า SA node (อ่านว่า เอส-เอ-โหนด)  หรือ sinoatrial node (อ่านว่า ไซ-โน-อา-เตรียล- โหนด) หรือ sinus node (อ่านว่า ไซ-นัส-โหนด)
จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะกระตุ้นไปตามผนังของหัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายและลงสู่บริเวณที่เราเรียกว่าAV node (อ่านว่า เอ-วี-โหนด) หรือAtrioventricular  node (อ่านว่า เอ-ตริ-โอ-เวน-ตริ-คู-ล่า-โหนด) และที่ตำแหน่งนี้สัญญาณจะถูกหน่วงเวลาให้ช้าลงชั่วครู่ก่อนจะส่งสัญญาณไฟฟ้าต่อลงไปข้างล่างซึ่งจะเป็นจังหวะเดียวกับที่รอให้หัวใจห้องบนบีบเลือดลงสู่หัวใจห้องล่างนั่นเอง
จาก AV node สัญญาณไฟฟ้าจะเดินทางต่อมายัง มัดเส้นใยประสาทที่เราเรียกว่า Bundle of His (อ่านว่า บัน-เดี้น-ออฟ-ฮิส)  และแยกออกเป็น 2แขนงซ้ายขวา เรียกว่า Bundle branch (อ่านว่า บัน-เดิ้น-บร๊าน) โดยแขนงด้านขวา(Right bundle brance อ่านว่า ไรท์-บัน-เดี้น-บร๊าน) ทอดยาวมาตามด้านขวาของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ส่วนแขนงด้านซ้าย(Left bundle branch อ่านว่า เล็บ-บัน-เดิ้น-บร๊าน) ซึ่งใหญ่กว่าจะแทงทะลุผ่านผนังกั้นหัวใจไปทางซ้ายและแยกออกเป็น 2 แขนงคือด้านหน้าและด้านหลัง
จากนั้นจะผ่านเข้าไปยังร่างแหของเส้นใยประสาทที่เราเรียกว่า Purkinje fibers (อ่านว่า เปอ-กิน-เจ-ไฟ-เบ้อ)  ซึ่งอยู่ใต้ต่อเยื่อบุด้านในของหัวใจ(endocardium อ่านว่า เอ็น-โด-คา-เดี่ยม) และไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่างทำให้เกิดการบีบตัวในที่สุด

ขอบคุณภาพจาก http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=15722&page=1




อ้างอิง
1. อภิชาติ สินธุบัว. 2006. เผยแพร่ทาง http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/cardio-vascular/page/index-circular.html

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน