แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 3.0 หน้าที่ของระบบไหลเวียน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 3.0 หน้าที่ของระบบไหลเวียน แสดงบทความทั้งหมด

20/3/55

หน้าที่ของระบบไหลเวียน

1. ขนส่งอาหารและออกซิเจนไปให้กับเซลล์ทุกเซลล์ และนำของเสียคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากเซลล์ เพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกาย  
2. นำเอาน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ (Electrolyte อ่านว่า อี-เล็ค-โตร-ไลท์) ไปสู่เซลล์ และขับออกจากเซลล์เพื่อช่วยรักษาระดับความสมดุลของกรด ด่าง (Acid-base balance อ่านว่า แอ-สิด-เบส-บัน-ล้านซ์) ในโลหิตและควบคุมสภาพสมดุลของของเหลวภายในร่างกาย (Fluid Balance อ่านว่า ฟลู-อิด-บัน-ล้านซ์)
3. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ(Temperature regulation อ่านว่า เทม-เพอ-เร-เจอ-เร็ก-กิว-เล-ชั่น)
4. ช่วยลำเลียงฮอร์โมนและเอ็นไซม์ ไปให้เซลล์ เพื่อช่วยในการเผาผลาญของเซลล์
5. ป้องกันทำลายเชื้อโรค ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibodies อ่านว่า แอน-ติ-บอ-ดี้) ให้กับร่างกาย
6. ระบบไหลเวียนยังเป็นแหล่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิดที่เป็นสารที่ยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ (inactive substances อ่านว่า อิน-แอ๊ก- ถีบ-สับ-สะ-แต๊น) ให้เป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้ (active substances อ่านว่า แอ๊ก-ถีบ-สับ-สะ-แต๊น) เช่น การเปลี่ยนของ angiotensinogen (อ่านว่า แอง-จิ-โอ-เทน-ซิ-โน-เจน) เป็น angiotensin I (อ่านว่า แอง-จิ-โอ-เทน-ซิน-วัน) และการเปลี่ยนของ angiotensin I (อ่านว่า แอง-จิ-โอ-เทน-ซิน-วัน) เป็น angiotensin II (อ่านว่า แอง-จิ-โอ-เทน-ซิน-ทู) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ได้แรงทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด
7. เป็นระบบที่ช่วยในการรักษาสมดุลของร่างกายควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย ดังนั้นการสูญเสียหน้าที่ของระบบไหลเวียนเพียงระยะสั้นๆ สามารถก่อให้เกิดผลที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

รายการบล็อกของฉัน